วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่สะสมพลังงาน ที่พบในชีวิตประจำวันทั่วไปได้แก่ น้ำตาล แป้ง เซลลูโลส  และไกลโคเจน โดยที่ส่วนใหญ่พบแป้งและเซลลูโลสในพืช ส่วนไกลโคเจนพบในเซลล์เนื้อเยื่อ น้ำไขข้อและผนังเซลล์ของสัตว์


คาร์โบไฮเดรต คือสารประกอบพวกพอลิไฮดรอกซีแอลดีไฮด์(poly hydroxy aldehyde) หรือพอลิไฮดรอกซีคีโตน(polyhydroxyketone) มีสูตรเอมพิริคัลเป็น Cn(H2O)m เช่น  กลูโคสm = n = 6 จึงมีสูตรโมเลกุลเป็น C6H12O6 คำว่าคาร์โบไฮเดรตยังครอบคลุมไปถึงอนุพันธ์ที่เกิดจากไฮโดรลิซิสและอนุพันธ์อื่นของสารทั้งสองจำพวกอีกด้วย คาร์โบไฮเดรตพบมากในพืชโดยเกิดผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)
 คาร์โบไฮเดรตเป็นสารชีวโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยธาตุหลัก 3ชนิด  ธาตุคาร์บอน (C)  ไฮโดรเจน (H)  และออกซิเจน (O)  มีบทบาทเป็นสารที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิต  และมีบทบาทในองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสิ่งมีชีวิต  ผนังเซลล์ในพืช  เปลือกและกระดองของสัตว์บางชนิด  เช่น หอยทาก  ปู  กุ้ง  เป็นต้น
 สารชีวโมเลกุลในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตจะมีลักษณะเป็นสารประกอบอินทรีย์  (Organic compound)  ซึ่งมีธาตุหลัก ๆ อยู่ 3ชนิด  คือธาตุคาร์บอน (C)  ไฮโดรเจน (H)  และออกซิเจน (O)  ในธรรมชาติเราสามารถพบสารจำพวกคาร์โบไฮเดรตได้หลายชนิด  ซึ่งแต่ละชนิดก็มีจำนวนธาตุที่เป็นองค์ประกอบแตกต่างกัน
 โดยปกติสารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตจะมีอัตราส่วนจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนต่อออกซิเจนเป็น 2 : 1  ดังนั้นสารคาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่จึงมีสูตรโมเลกุลเป็น (CH2O)n  หรือ  Cn(H2O)m  เมื่อ และ mเป็นเลขจำนวนเต็มลงตัว  ตัวอย่างเช่น  C5H10O5,  C6H12O6,  C12H22O6 , C18H32O16  เป็นต้น  อาจมีสารคาร์โบไฮเดรตบางชนิดเท่านั้นที่มีอัตราส่วนจำนวนธาตุหรือสูตรโมเลกุลไม่เป็นตามที่กล่าวมา  ตัวอย่างเช่น  น้ำตามแรมโนส (Rhamnose)  ซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็น C6H12O5  เป็นต้น

  คาร์โบไฮเดรตสามารถพบได้ทั่วไปตามส่วนต่าง ๆ ของพืช หรือผลิตภัณฑ์จากพืชซึ่งประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล  เช่น  หัวเผือก หัวมัน  น้ำตาลทราบ  น้ำตาลปี๊บ  น้ำผึ้ง  ผัก  ผลไม้ที่มีรสหวาน  และข้าว  เป็นต้น
โดยคาร์โบไฮเดรตสามารถจำแนกตามจำนวนโมเลกุลของน้ำตาลที่เชื่อมโยงกันได้เป็น กลุ่ม  คือ 
1) มอนอแซ็กคาไรด์  (Monosaccharide)  หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว  มีลักษณะเป็นโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน 3-8  อะตอม  สามารถละลายน้ำได้ดีและมีรสหวาน  เป็นน้ำตาลที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุดไม่สามารถถูกย่อยให้เล็กลงกว่านี้ได้  ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวสามารถแบ่งได้เป็นหลายชนิด  ซึ่งแต่ละชนิดอาจมี
สุตรโมเลกุลเหมือนกัน  แต่มีสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกันได้  เช่น  ไรโบส  ไลโซส  ไซโลส  และอะราบิโนส  ซึ่งต่างก็มีสูตรโมเลกุลเป็นC5H10O5  เหมือนกัน  แต่มีสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกัน
กาแลกโทส (galactose)  ฟรักโทส (fructose)  และกลูโคส (glucose)  เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่พบได้มากในกระแสเลือด  มีสูตรโมเลกุลเป็น C6H12O6  เป็นน้ำตาลกลุ่มที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตมาก
                     
>>น้ำตาลกาแลกโทส  เป็นน้ำตาลที่มีความหวานน้อย  ไม่พบในธรรมชาติ  แต่ได้จากการย่อยสลายน้ำตาลแลกโทสในน้ำนม เป็นสารองค์ประกอบของระบบสมองและเนื้อเยื่อประสาท
                     >>
น้ำตาลฟรักโทส  เป็นน้ำตาลที่มีความหวานมากที่สุด พบมากในน้ำผึ้ง  ผัก  และผลไม้ที่มีรสหวานต่าง ๆ โดยมักพบอยู่ร่วมกับซูโครสและกลูโคส  เป็นน้ำตาลที่มีบทบาทที่สำคัญในกระบวนการเผาผลาญอาหารของสิ่งมีชีวิต
                     >>
น้ำตาลกลูโคส  เป็นน้ำตาลที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยพืชสีเขียว จากนั้นจึงถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลรูปอื่น ๆ หรือคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเก็บสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืชต่อไป  พบได้ในผลไม้ที่มีรสหวาน  น้ำผึ้ง  และในกระแสเลือด  น้ำตาลกลูโคสมีบทบาทสำคัญ  คือ  ช่วยให้กล้ามเนื้อมีการยืดหดตัว  ควบคุมการเต้นของหัวใจ  ช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น  และยังเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายด้วย  โดยร่างกายจะสามารถเผาผลาญกลูโคสได้โดยอาศัยกลูโคสและแก๊สออกซิเจนเป็นสารตั้งต้น ได้ผลิตภัณฑ์คือพลังงานแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  และน้ำ   ดังสมการ
                                    C6H12O6 + 6O2                 ------------->                    
พลังงาน  +  6CO2 + 6H2O
                     
เราสามารถทดสอบหาน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้  โดยใช้สารละลายเบเนดิกต์ซึ่งมีสีฟ้า  เมื่อสารละลายเบเนดิกต์ทำปฏิกิริยากับน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจะเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีลักษณะเป็นตะกอบสีแดงอิฐของคอปเปอร์ (I)  ออกไซด์ (Cu2O)  โดยความเข้มของสีแดงอิฐที่สังเกตได้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่อยู่ในสารที่นำมาทดสอบ
 2)  ไดแซ็กคาไรต์  (Disaccharide)  หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่  ไดแซ็กคาไรด์หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่  เป็นน้ำตาลที่เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวสองโมเลกุลมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมี  สามารถละลายน้ำได้  แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตรับประทานเข้าไป  ร่างกายจะไม่สามารถเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน  โดยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้ 2โมเลกุล  น้ำตาลโมเลกุลคู่ที่สำคัญมีดังนี้
                     
>>น้ำตาลซูโครส (sucrose)  หรือน้ำตาลทราย  หรือน้ำตาลอ้อยพบได้มากในอ้อย  ตาล  มะพร้าว  ผลไม้ที่มีรสหวานทุกชนิด  เมื่อถูกย่อยสลายจะได้น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟลุกโทส อย่างละ โมเลกุล
                    >> 
น้ำตาลมอลโทส  (moltose)  พบได้มากในข้าวมอลต์ เมล็ดข้าวที่กำลังงอก  น้ำนมข้าว  และข้าวโพด  เมื่อถูกย่อยสลายจะได้น้ำตาลกลูโคส โมเลกุล
                    >> 
น้ำตาลแลกโทส (lactose)  เป็นน้ำตาลซึ่งมีรสหวานน้อย  ย่อยสลายได้ยากกว่าน้ำตาลโมเลกุลคู่อื่น ๆ  พบมากในน้ำนม เมื่อย่อยสลายจะได้น้ำตาลกาแลกโทส  และน้ำตาลกลูโคส  อย่างละโมเลกุล
                     
น้ำตาลซูโครสเป็นน้ำตาลที่นิยมใช้ในการผลิตไวน์ โดยเมื่อนำน้ำผลไม้และน้ำตาลซูโครสมาหมักด้วยยีสต์ จะทำให้เกิดการย่อยสลายกลายเป็นน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟรัสโทสก่อน  จากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการหมักต่อไป  จนกระทั่งเปลี่ยนไปเป็นเอทิลแอลกอฮอล์  และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
  3)  พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide)  เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่มาก  ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจำนวนหลายโมเลกุลมาเชื่อมต่อกัน พอลิแซ็กคาไรด์เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีรสหวาน ละลายน้ำได้ยากหรือไม่ละลายเลย  แบ่งออกเป็น ชนิด  ได้แก่  แป้ง  เซลลูโลส  และไกลโคเจน
                    >> 
แป้ง  (Starch)  เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่เกิดจากกลูโคสหลายพันโมเลกุลเชื่อมต่อกัน ละลายน้ำได้เล็กน้อย  มีสูตรโมเลกุลเป็น  (C6H10O5)n  มีโครงสร้างทั้งที่เป็นแบบสายตรงยาว และเป็นแบบกิ่งก้านสาขา แป้งเป็นรูปแบบของคาร์โบไฮเดรตที่พืชใช้ในการเก็บสะสมอาหาร โดยพืชจะมีการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงให้มาอยู่ในรูปของแป้งแล้วเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ โดยเฉพาะในเมล็ด  และหัวในดิน
                     
แป้งเป็นโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่  ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมได้ทันที  ต้องมีการย่อยสลายให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อนจึงจะสามารถดูดซึมได้ โดยในร่างกายของเราจะสามารถย่อยสลายแป้งให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้โดยอาศัยเอนไซม์อะไมเลส
                    >> 
ไกลโคเจน (Glycogen)  เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่กว่าแป้งมาก ประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคสหลายแสนหรืออาจถึงล้านโมเลกุลขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันในลักษณะเป็นสายยาวมีกิ่งก้านสาขา ไกลโครเจนเป็นรูปแบบการเก็บสะสมอาหารที่พบในมนุษย์และสัตว์เท่านั้น  โดยร่างกายจะเปลี่ยนกลูโคสที่มีอยู่มากในกระแสเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บไว้ในบริเวณกล้ามเนื้อและตับ และจะสามารถเปลี่ยนให้กลับมาเป็นกลูโคสได้ในภาวะที่ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงหรือภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหาร
                    >> 
เซลลูโลส  (Cellulose)  เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคสหลายหมื่นโมเลกุล  การที่กลูโคสจำนวนมากมาต่อกันเป็นสายยาวจึงทำให้เซลลูโลสมีลักษณะเป็นเส้นใยยาวที่ไม่ละลายน้ำ เซลลูโลสมีบทบาทหน้าที่แตกต่างไปจากแป้งและไกลโคเจน คือ ไม่ได้เป็นรูปแบบการเก็บสะสมอาหารของสิ่งมีชีวิต แต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ของพืช ช่วยทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่ผนังเซลล์ของพืช
                     
เซลลูโลสเป็นโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่มาก ร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถย่อยสลายได้ แต่สามารถถูกย่อยสลายได้ในกระเพาะของสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร  เนื่องจากในกระเพาะของสัตว์ที่กินพืชจะมีแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นกลูโคสได้
                     
แม้ว่าร่างกายมนุษย์จะย่อยสลายเซลลูโลสไม่ได้ แต่เราก็ควรจะบริโภคเซลลูโลสอยู่เสมอ เนื่องจากการที่เซลลูโลสมีลักษณะเป็นเส้นใย ซึ่งช่วยกระตุ้นลำไส้ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก ช่วยลดสารพิษที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ จึงช่วยลดการเกิดโรคริดสีดวงทวารและโรคมะเร็งในลำไส้ได้ โดยเซลลูโลสจะมีอยู่มากในอาหารประเภทพืช  ผัก และผลไม้  เราจึงควรรับประทานอาหารเหล่านี้อยู่เสมอ